วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

จิตวิญญาณความเป็นครู

จิตวิญญาณความเป็นครู

"...ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและ อุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดทน และอดกลั้น สำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ..."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส. (28 ตุลาคม 2523). อ้างถึงใน กรมประชาสัมพันธ์
สำนักนายกรัฐมันตรี 
ครูในอดีตมีจำนวนมาก ที่มีลักษณะครูอาชีพเป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความห่วงใยต่อศิษย์ดุจลูกของตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านมามีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากระทบทำให้มีครูอาชีพที่เป็นปูชนียบุคคลลดน้อยลงไปอย่างน่าเป็นห่วง ด้วยสาเหตุอะไรนั้นเป็นเรื่องน่าคิด แต่ก็ไม่อยากให้คิดมากจนเสียเวลาที่จะเตรียมระบบใหม่ที่จะสร้างครูของครูให้เป็นครูอาชีพ เพื่อที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีส่งต่อไปยังลูกศิษย์ที่เป็นครู   
ครูที่มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างภาพลักษณ์ของครูที่ดีได้ นั่นคือ ครูที่ศรัทธาต่ออาชีพครู รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่เป็นครู


และครูจะต้องถ่ายทอดพันธุกรรมแห่งความดีไปยังผู้เรียนด้วยจิตสำนึกและวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง การสร้างจิตสำนึกและวิญญาณครู ทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา อาชีพครูค่อนข้างได้รับการดูถูกดูแคลนจากสังคมเป็นอย่างมากจนน่าวิตก   ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น คนดีคนเก่งไม่เรียนครู คณาจารย์ที่สอนครูย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ ภาระงานของครูมีมาก แรงจูงใจค่อนข้างต่ำ ระบบการพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพ การอบรมพัฒนาไม่ตรงตามที่ต้องการ เป็นต้น
              
จิตสำนึกและวิญญาณครู”   จุดเริ่มต้นน่าจะอยู่ที่การสร้างศรัทธา ให้กลับมาสู่อาชีพของครูให้ได้มากที่สุด


จรรยานำมาแห่งจิตวิญญาณ
คำว่าวิญญาณของความเป็นครู หรือว่า จิตใจเจตนารมณ์ของความเป็นครู ที่สูงที่สุด คงจะเป็นการ
อบรมสั่งสอนให้ เด็กมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้รู้ เป็นเด็กที่สว่างไสว แจ่มแจ้ง เจริญงอกงามขึ้น ในด้านความคิดสติปัญญา
สิ่งที่จะทำให้เด็กนักเรียน หรือผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น ครูควรเป็นครูด้วยใจจริง ควรจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพ ซื่อมีความสำคัญ และความจำเป็น “ครูมืออาชีพ มิใช่เพียงแต่มีอาชีพครู ก็เป็นครูมืออาชีพในด้านพื้นฐานที่เกิดจากตน ควรจะต้องมี ลักษณะที่จะต้องพึงปฏิบัติให้เกิดเป็นจิตวิญญาณในความเป็นครู
ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครูเป็นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความสามารถที่ถ่ายทอดจากผู้สอนอย่างเติมที่ ครูต้องมีความเมตตา ต่อผู้เรียนและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน เพื่อให้การปฏิบัติตน และผู้อื่นมีความสุข ครูต้องมีความเป็นกัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ หากปฏิบัติพื้นฐานได้ดังที่กล่าวมานี้ก็เชื่อ ความเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูมืออาชีพ ก็จะเกิดขึ้นเป็นแน่
ดังนั้น จิตวิญญาณความเป็นครูควรจะต้องปลูกฟังจากจิตใจของผู้ที่เป็นแม่พิมพ์ ของชาติก่อน ควรมีจิตใจพื้นฐาน รักที่จะประกอบอาชีพการสอนให้ผู้ที่ไม่รู้ จะต้องไปสู่แห่งจุดหมาย คือ การมีองค์ความรู้ให้ได้ ด้วยจิตใจที่ไม่ย่อท้อ ทั้งจิตใจที่บริสุทธิ์ เนื้อแท้ หัวใจของความเป็นครูอยู่ที่จิตใจพื้นฐานที่มี ความตั้งมั่นจะสั่งสอนผู้เรียนให้มีความรู้ โดยมีความเป็นกัลยาณมิตร ต่อผู้เรียน อีกทั้งสนับสนุนส่งเสริม ตนเองให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา ตามยุคโลกาภิวัฒน์